เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ออกแบบเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์  และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
8
26-30 ก.ย.59
โจทย์ : 
-สร้างสรรค์ออกแบบเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์
- ความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ
คำถาม
เราจะมีวิธีการสร้างสรรค์เกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์ได้อย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมการละเล่นต่างๆ
- Flow Chart  ขั้นตอนการเล่นของเกมจากเมล้ดพันธุ์
-  Wall Thinking แผนภาพขั้นตอนการเกมการละเล่นจากเมล้ดพันธุ์
- Show and Share นำเสนอเกมการละเล่น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เมล็ดพันธุ์ต่างๆ เช่น น้อยหน่า หางนกยูง มะขาม ฯลฯ

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันออกแบบเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธ์
- ครูใช้คำถามกระต้นการคิด “เราจะมีวิธีการสร้างสรรค์เกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำ
-นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันพูดคุยออกแบบเกมการละเล่นจากเมล้ดพันธุ์
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเกมที่คิดและออกแบบไว้มาสาธิตการเล่นให้เพื่อนๆได้ดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเกมนี้มีชื่อว่าอย่างไร เพราะเหตุใดถึงให้ชื่อว่าอย่าไนั้น รู้สึกอย่างไร ”
-ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นเกมจากเมล็ดพันธุ์จนครบทุกกลุ่ม
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเมล็ดพันธุ์มีความสัมพันธุ์กับสิ่งใดบ้าง” "ถ้าวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์ต่างๆสูญหายไป จะเป็นอย่างไร"
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
-ครูและนักเรียนร่วมกันบรรจุเมล็ดพันธุ์ใส่ถุงเพื่อแบ่งปันให้กันในโรงเรียน
ใช้
นักเรียนร่วมกันบรรจุเมล็ดพันธุ์
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเมล็ดพันธุ์ไปแบ่งปันให้กับคุณครูและพี่ในโรงเรียนที่สนใจ นำไปปลูกต่อ
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คุณครูและพี่ๆ ช่วยสะท้อนหลังจากแบ่งปันเมล็ดพันธุ์แล้ว

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-ร่วมกันพูดคุยออกแบบเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์
- จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับการใช้เล่นเกม เช่น 
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นน้อยหน่า หางนกยูง มะขาม ฯลฯ 
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- แผนภาพขั้นตอนการเกมการละเล่นจากเมล้ดพันธุ์
- ชาใบข้าว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ออกแบบเกมการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์  และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- เลือกและคัดสรรวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ได้อย่างคุ้มค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูทำน้ำข้าวกล้องงอก รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน/เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม










ตัวอย่างชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ของการละเล่นจากเมล็ดพันธุ์ พี่ป.1 แต่ละคนต่างช่วยคิดช่วยตอบสิ่งที่ตนเองเคยเล่นจากเมล็ด ได้หลากหลายวิธีการเล่น อย่างเช่น การดีดลงหลุม อีกตัก หมากฮอส หมากหลุม เล่นขายของฯลฯ จากนั้นทั้งคุณครูและพี่ป.1 นำเมล็ดของน้อยหน่าและมะขาม ที่เตรียมสะสมไว้ก่อนหน้านี้ 2 สัปดาห์ เล่นเกมอีตัก ซึ่งเป็นเกมการละเล่นพื้นบ้าน พี่ป.1 ต่างสนุกสนานกับการเล่น จากเกมครูให้พี่ป.1 แต่ละกลุ่มนับจำนวนเล็ดที่ตนเองตักได้มารวมกัน แยกจำนวนระหว่างเมล็ดมะขามกับน้อยหน่า ทำให้พี่ป.1 คิดเชื่อมโยงสู่คณิตฯ ได้และเห็นคุณค่าของสิ่งที่นำมาเล่น อย่างเช่น พี่แก้ม : น้อยหน่านำไปปลูกต่อได้ค่ะ พี่โอบอ้อม : เราเอาเมล็ดมาตำละเอียดแล้วหมักหัวช่วยฆ่าเหาได้ค่ะ พี่ป๋อ : เวลาที่เราจะปลูกเราต้องขุดหลุม เอาเมล็ดลงไป แล้วกลบดิน รดน้ำครับ ตลอดทั้งสัปดาห์พี่ป.1 เล่นเกมจากเมล็ดพันธุ์ร่วมกัน ซึ่งทุกคนตื่นเต้นกับการเล่นตลอดเวลาเลยค่ะ

    ตอบลบ