เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่ได้จากเมล็ดพันธุ์

Week
Input
Process
Output
Outcome

6
12 – 16 ก.ย.59
โจทย์ : 
1.สารอาหารจากเมล็ดพันธุ์
- โปรตีน
- ไขมัน
- วิตามิน
- แร่ธาตุ
2.สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเรา (อาหารหลัก 5 หมู่)

คำถาม
นักเรียนคิดว่าในเมล็ดพันธุ์มีสารอาหารอะไรที่จำเป็นต่อร่างกาย?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหาร
- Blackboard  Share กระบวนการในการทดสอบสารอาหาร
- Flow Chart ขั้นตอนการประกอบอาหาร 1 เมนู
-  Wall Thinking ภาพและเขียนขั้นตอนการทดสอบสารอาหาร
- Show and Share นำเสนอเมนูอาหาร

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เมล็ดพืชที่ใช้  เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ
- สารไอโอดีน
- สารไบยูเรต
- กระดาษไข
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดสอบสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่มีอยู่ในเมล็ดพันธุ์ของพืชชนิดต่างๆ (แบบง่าย)
1.แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ใช้สารไอโอดีน ในการทดสอบ เมล็ดพืชที่ใช้  เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ นักเรียนร่วมกันบดเมล็ดพันธุ์ให้ละเอียด จากนั้นคุณครูหยดสารไอโอดีนลงไป แล้วเทียบเฉดสีที่เกิดขึ้น (ครูจะมีชาร์เทียบสารให้)
2.โปรตีน ใช้สารไบยูเรต ในการทดสอบ เมล็ดพืชที่ใช้  เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ นักเรียนร่วมกันบดเมล็ดพันธุ์ให้ละเอียด จากนั้นคุณครูหยดสารไอโอดีนลงไป แล้วเทียบเฉดสีที่เกิดขึ้น
3.ไขมัน ใช้วิธีอย่างง่าย คือ ให้นักเรียนแต่ละคนใช้นิ้วมือในการบีบหรือ ขยี้เมล็ด จากนั้นนำไปแตะบนกระดาษไข พร้อมสังเกตการเปลี่ยนแปลง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกต เห็นอะไร  รู้สึกอย่างไร ทำไมเป็นเช่นนั้น  นักเรียนคิดว่าในเมล็ดพันธุ์มีสารอาหารอะไรที่จำเป็นต่อร่างกาย?
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการทดสอบสารอาหารจากเมล็ดพันธุ์
ใช้
นักเรียนวาดภาพกระบวนการทดสอบสารอาหาร
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนร่วมกันจัดหมู่อาหาร (อาหารหลัก 5 หมู่ ) โดยที่ครูมีเมล็ดพันธุ์ต่างๆที่สามารถรับประทานได้  เช่น ถั่ว งา ถั่วลันเตาต้นอ่อนทานตะวัน นม  ผลไม้ ฯลฯ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะมีวิธีการจัดสิ่งของเหล่านี้ให้อยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ได้อย่างไร?
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่อาหาร
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ชง
- ครูให้โจทย์แต่ละกลุ่มในการประกอบอาหาร 1 เมนู ให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยครูมีวัตถุดิบหลักให้เป็นเมล็ดพันธุ์ เช่น ถั่ว งา  และต้นอ่อนทานะวัน ต้นอ่อนโตเหมี่ยว ฯลฯ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะประกอบอาหารใน 1 เมนูให้มีสารอาหารครบ 5 หมู่ได้อย่างไร ”

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มพูดคุยและนำเสนอเมนูที่จะทำและจัดเตรียมอุปกรณ์ในการประกอบในการทำอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันประกอบอาหารโดยมีผู้ปกครองร่วมเรียนรู้ด้วยในแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ชิมอาหารในแต่ละเมนูของแต่ละกลุ่ม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนประกอบอาหาร

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับสารอาหารที่ได้จากเมล็ดพันธุ์

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการทดสอบสารอาหาร
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหาร
- จัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำอาหาร
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- การจดบันทึกการเพาะเมล็ดพันธุ์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนขั้นตอนการทดสอบสารอาหาร
- ประกอบอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่ได้จากเมล็ดพันธุ์

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดสอบสารอาหารและการประกอบอาหาร รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน/ละครเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ


คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม












ตัวอย่างภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่พี่ป.1 ได้ร่วมกันทดสอบสารอาหารที่มีในเมล็ดพันธุ์ ที่เราเห็นและนำมารับประทานกันอยู่ทุกวัน เป็นการทดสอบง่ายๆ ที่พี่ป.1 ช่วยกันตำเมล็ดถั่วแล้วนำมาวางในกระดาษซับมัน พี่ป.1 จับถั่วที่ตำต่างก็บอกว่าคุณครูครับ/ครูค่ะ ทำไมเหมือนมีน้ำมันออกมาจากถั่วเลย แล้วบนกระดาษก็เปลี่ยนจากสีขาวขุ่นกลายเป็นใสๆ มองเห็นหน้ากันด้วยค่ะ คุณครู: พี่ป.1 คิดอย่างไรค่ะ พี่แก้ม : ครูคะงั้นแสดงว่าในถั่วต้องมีน้ำมันใช่ไหมค่ะ จากนั้นคุณครูนำสารทดสอบที่เตรียมไว้หยดสารลงไปในถั่วที่ตำละเอียดแล้วในกล่อง 2 กล่อง พี่โชว์ : ครูครับกล่องนี้ถั่วเปลี่ยนสีจากสีขาวๆ กลายเป็นสีม่วงๆ ครับ แล้วเป็นสารอาหารอะไรครับ พี่นโม : ผมรู้ครับว่าถ้าเรากินถั่วจะได้โปรตีน พี่มินทร์ : โปรตีนทำให้เราแข็งแรงค่ะ และในวันพุธพี่ๆป.1 ร่วมกันทำอาหาร 5 อย่าง กับผู้ปกครอง ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดเตรียมวัตถุดิบอุปกรณ์ในการประกอบอาหารที่ตนเองได้รับมอบหมายมาครบทุกคนเลยทีเดียว เมื่อทำเสร็จได้ร่วมกันชิม แถบยังได้ห่อกลับไปเป็นกับข้าวเย็นได้ทานกับครอบครัวอีกด้วยค่ะ พี่ป.1 บอกว่าพวกเราประทับใจที่คุณพ่อคุณแม่มาทำกิจกรรมกับพวกเราและอยากขอบคุณมากครับ/ค่ะ

    ตอบลบ