เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ได้


Week
Input
Process
Output
Outcome

4
29 ส.ค.- 2 ก.ย.59

โจทย์ : 
การงอกของเมล็ดพันธุ์
- ปัจจัยการงอก (น้ำ ออกซิเจน อุณหภูมิ แสง)
- คัดเลือกเมล็ดพันธุ์
- ลักษณะการงอกของเมล็ดพันธุ์ เช่น ถั่วแดง ข้าว ฯลฯ

คำถาม
นักเรียนคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์
- Key Question ตั้งคำถามจากการทำกิจกรรมกับวิทยาการ
 - Think Pair Share กิจกรรมคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และการเพาะ
-  Wall Thinking การ์ตูนช่องการงอกของเมล็ดพันธุ์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- วิทยากร (คุณครูอ้นและอาจารย์นฤมล)

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อุปกรณ์การเพาะ เช่น ดิน น้ำ สำลี ฟองน้ำ
- คลิปวีดีโอ “เมล็ดน้อยจะงอกไหม” “ลักษณะการงอกของถั่วแดงและข้าวโพด”
- ผักผลไม้ที่มีเมล็ดและไร้เมล็ด เช่น ฝรั่ง มะละกอ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูเชิญวิทยากร (คุณครูอ้นและอาจารย์นฤมลร่วมพูดคุยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆให้กับนักเรียนได้ฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากคุณครูอ้น นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพิ่มเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์  เราจะนำไปปรับใช้อย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการทดลองเพาะเมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน ได้จำนวนเท่ากันประมาณ 10 – 20 เมล็ด โดยนักเรียนคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เอง เพาะลงใน ดิน น้ำ สำลี ฟองน้ำ ให้นักเรียนเลือกเอง) ทั้งแบบปิดและเปิดไม่โดนแสง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการเพาะเมล็ดจาก ดิน น้ำ สำลี ฟองน้ำ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? เพาะด้วยอะไรที่มีโอกาสการงอกองเมล็ดพันธุ์ได้ดีกว่า เพราะเหตุใด? นักเรียนคิดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- นักเรียนบันทึกการเปลี่ยนแปลงในการเพาะเมล็ดของตนเอง (ระยะเวลาการงอก : เมล็ด อย่างเช่น 1 วัน  งอก 5 เมล็ด) เชื่อมโยงสู่ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- นักเรียนได้ดูคลิปวีดีโอ “เมล็ดน้อยจะงอกไหม” “ลักษณะการงอกของถั่วแดงและข้าวโพด”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร การงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 2 ชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูคลิปวีดีโอ
ใช้
นักเรียนทำการ์ตูนช่องการงอกของเมล็ดพันธุ์
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำผักผลไม้ที่มีเมล็ดและไร้เมล็ด เช่น ฝรั่ง มะละกอ มาผ่าครึ่ง เพื่อให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่อยู่ภายในคือผลที่มีเมล็ดและที่ไม่มีเมล็ด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมผลไม้ชนิดเดียวกันถึงมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด เพราะเหตุใด รสชาติเป็นอย่างไร ” “นักเรียนคิดว่าผลไม้ที่ไร้เมล็ดมีวิธีการเพาะปลูกโตจนออกดอก ออกผลได้อย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- การเพาะเมล็ดด้วย ดิน น้ำ สำลี ฟองน้ำ ฯลฯ(นักเรียนเลือกเอง)
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำกับวิทยากร(คุณครูอ้น)
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- การจดบันทึกการการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดพันธุ์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องการงอกของเมล็ดพันธุ์
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน/ละครเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม























ตัวอย่างภาพชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. สรุปสัปดาห์ที่ 4 เป็นสัปดาห์ที่พี่ป.1 ตื่นเต้นและสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าได้ไปเดินป่ากับพีป.6 ผู้ปกครอง และคุณครู ก่อนวันเดินทางพี่ป.6กับพี่ป.1 พูดคุยกันถึงเป้าหมายในการไปเรียนรู้ในครั้งนี้ สังเกตเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องในโรงเรียน ซึ่งแสดงออกถึงการเคารพ ยอมรับฟังกัน พอถึงวันเดินป่า ระหว่างทางพี่ป.1 ตื่นเต้นกับทุกส่ิงที่อยู่ตรงหน้าและรอบตัว พี่แก้ม กระตือรือร้นในการเรียนรู้ชื่อต้นไม้ที่ไม่เคยเห็นไม่รู้จักด้วยการเก็บใบไม้ ไปถามจากคุณตาพี่ป๋อ เมื่อเจอไส้เดือนก็อยากรู้ขนาดความยาวของไส้เดือน เจอลูกเหลี่ยมอยากรู้ว่าข้างในเป็นอย่างไร พี่น้ำบอกว่าก็ข้างในจะเป็นสีขาว รสชาติมันๆ ไงพี่แก้ม พี่แก้มครูคะเราเอากลับไปผ่าดูที่โรงเรียนกันนะคะ ช่วงบ่ายในวันเดียวกันพี่ป.1 ช่วยกันเก็บต้นอ่อนทานตะวัน และนำไปแบ่งปันให้กับคุณครูได้ชิมกัน คุณครูสังเตเห็นว่าพี่ป.1 ให้ความร่วมมือกันดั ระบผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ช่วยเหลือกัน ยอมรับฟังกันได้เป็นอย่างดี วันต่อมาทั้งคุณครูและพี่ป.1 พูดคุยถึงการเพาะต้นข้าว ซึ่งผลของรอบนี้ต้นข้าวไม่งอกเลย พี่ป.1 ต่างตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นเพราะเมล็ดพันธุ์ไม่แข็งแรง หรืออาจเป็นดินที่มีอาหารไม่พอ จากนั้นพี่ป.1 ทุกกลุ่มช่วยกันเตรียมดินสำหรับเพาะข้าวใหม่อีกครั้ง

    ตอบลบ