เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์

Week
Input
Process
Output
Outcome


2
15 -19 ส.ค.59
โจทย์ : 
ออกแบบและวางแผนปฏิทินการเรียนรู้

คำถาม
นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร ?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- Think Pair Share กิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- Wall Thinking ปฏิทินการเรียนรู้
 - Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
 บรรยากาศภายในชั้นเรียน


วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ตนเองนำมาจากบ้านมาเพาะลงในถาดหลุมเล็กๆ หรือถุงดำสำหรับเพาะ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงจากเมล็ด ต้นอ่อน โต ออกดอก ออกผล (เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ในระยะยาว)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเมล็ดพันธุ์ของเราจะงอกไหม เพราะเหตุใด? เราจะมีวิธีการดูแลอย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนได้ลงมือทำในการเพาะเมล็ดพันธุ์ของตนเอง เตรียมไว้สำหรับวันสรุปองค์ความรู้
ชง
ครูเขียน Mind Mapping หน่วย “งอกไม่งอก” บนกระดาน ให้นักเรียนช่วยกันบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์  
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุป Mind Mapping ก่อนเรียน
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้ได้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน?
เชื่อม
ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนเป็น 5 กลุ่ม นักเรียนช่วยกันคิดออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม
ครูและนักเรียนช่วยกันคิดออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้ (ต่อ)
ใช้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำปฏิทินการเรียนรู้

พฤหัสบดี (ชั่วโมง)
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- วาดภาพ Mind Mapping ก่อนเรียน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ 
เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม



















ตัวอย่างภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 2 พี่ๆ ป.1 ร่วมคิดร่วมออกแบบวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันในหน่วย"งอกไม่งอก" ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์ ระหว่างวันช่วงที่ว่างพี่ๆป.1 ยังคงค้นหาและสะสมเมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ในโรงเรียน อีกทั้งช่วยกันดูแลเรือนเพาะต้นอ่อนทานตะวันและในวันพุธได้เก็บผลผลิตต้นอ่อนทานตะวันส่งเข้าโรงอาหาร ผลผลิตได้ 4 กิโลกรัม รอบนี้สังเกตเห็นว่าพี่ป.1 รับผิดชอบร่วมกันมากขึ้น การเก็บต้นอ่อนได้ดีขึ้น ยอมรับฟังกันเมื่อเพื่อนเตือนและแนะนำการเก็บให้กัน วันพฤหัสบดี ทั้งคุณครูและพี่ป.1 ได้ตัดยอดต้นข้าวสาลีที่เพาะไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เปิดเรียนมา พี่ป.1 บอกว่าคุณครูครับ/ครูค่ะ ทำไมเหมือนหญ้าเลย กลิ่นก็เหมือนครับ จากนั้นครูนำต้นอ่อนข้าวสาลีที่ตัดและล้างเรียบร้อยมาปั่น กรองเอาน้ำ โดยแบ่งเป็น2 รสชาติ มีรสธรรมชาติและอีกรสเติมนมสดจืดลงไป พี่ป.1 ได้ชิมและนำไปให้กับคุณครูในโรงเรียนได้ชิมในสิ่งที่ทำ พี่ป.1 ทุกคนสนุกและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ