เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะส่วนประกอบภายใน ภายนอกอย่างง่ายของเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

3
2226
ส.ค.59

โจทย์ : 
 ส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์
- ภายใน
- ภายนอก (เปลือกหุ้ม)

คำถาม
นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบของเมล็ดภายนอกและภายในเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมส่วนประกอบของเมล็ดพันธ์
- Round Robin การเตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ดพันธุ์
-  Wall Thinking  แผนภาพส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เมล็ดพันธุ์(ข้าว/ทานตะวัน)
- เปลือกไข่
- ดินปลูก/ดินวิทยาศาสตร์
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูนำเมล็ดพันธุ์พืชมาให้นักเรียนสังเกตส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น ถั่ว มะพร้าวฯลฯ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร เห็นสิ่งนั้นแล้วนึกถึงอะไร ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้สังเกต
ชง
- ครูนำเมล็ดถั่วที่แช่น้ำ และมะพร้าว มาผ่าครึ่งเพื่อให้นักเรียนสังเกตรูปร่างลักษณะภายในของเมล็ด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรที่อยู่ภายในเมล็ด เป็นอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้สังเกต
ใช้
นักเรียนวาดภาพส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์

วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม
- นักเรียนได้นำเสนอแผนภาพส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์ของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งทีได้ฟังจากการนำเสนอ
ชง
- ครูให้นักเรียนเตรียมเปลือกไข่มาคนละ 5 ฟอง
เพื่อใช้สำหรับเพาะต้นข้าวอ่อน และทานตะวันอ่อน และดินสำหรับเพาะ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะมีวิธีผสมดินสำหรับการเพาะเมล็ดพันธุ์ได้อย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะเมล็ด
- นักเรียนแต่ละคนได้ลงมือทำเพาะเมล็ดพันธุ์ในเปลือกไข่
ใช้
นักเรียนเพาะเมล็ดพันธุ์ในเปลือกไข่

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนได้นำเสนอการเพาะเมล็ดพันธุ์ในเปลือกไข่และการผสมดิน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังนำเสนอ

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำดินวิทยาศาสตร์มาให้นักเรียนได้สังเกตและสัมผัส
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร เราสัมผัสแล้วรู้สึกอย่างไร นักเรียนคิดว่าจะนำดินวิทยาศาสตร์มาเพาะเมล็ดพันธุ์ได้หรือไม่ อย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกิจกรรมที่ได้ทำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันเพาะเมล็ดพันธุ์ในดินวิทยาศาสตร์

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- พูคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- การจดบันทึกการเพาะเมล็ดพันธุ์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- แผนภาพส่วนประกอบของเมล็ดพันธุ์
- เพาะเมล็ดพันธุ์ในเปลือกไข่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะส่วนประกอบภายใน ภายนอกอย่างง่ายของเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม











ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 พี่ป.1 เรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ด คุณครูชวนพี่ๆคุยกันถึงรูปร่างลักษณะของเมล็ดชนิดต่างๆ ที่รู้จัก ซึ่งทุกคนบอกเล่าได้ดีเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่แต่ละคนรู้จักและเคยเห็น เคยหยิบจับ แกะดูภายในของเมล็ด รวมทั้งบอกรสชาติที่เคยชิมเนื้อข้างในที่เรียกว่า “จาว” ของมะพร้าว พี่ดิน : จาวมีสีขาว จืดๆ ครับ พี่ชิน : จาวหวานมากครับ พี่แก้ม : จาวมันเหมือนฟองน้ำเลยค่ะ จากนั้นครูเล่าถึงเรื่องราวตำนานของมะม่วงหินมพานต์ พี่ป.1 บอกว่าครูครับ/ครูคะ ไม่มีจริงหรอก เมล็ดอะไรจะอยู่นอกผล เมล็ดจะต้องอยู่ข้างในผลเท่านั้น ครูได้เปิดภาพจากเน็ตให้พี่ๆได้ดูร่วมกัน พี่ฟอร์ดบอกว่า : ครูครับเหมือนชมพู่เลย ต่างตรงที่ว่ามีเมล็ดติดอยู่ข้างล่าง พี่หลายคนยังคงสงสัยกับมะม่วงหินมพานต์ พวกเราอยากเห็นของจริงจะทำอย่างไรดีแล้วครูคะป่าหินมพานต์มีจริงไหม พาพวกเราไปได้ไหมครับ และสัปดาห์นี้พีๆป.1 มีโอกาสร่วมทำกิจกรรมห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ด้วยดินเหนียวกับพี่ๆป.6 ทุกคนตื่นเต้นและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ พี่แก้ม : ครูคะหนูถามพี่ป.6 ว่าทำไมเราต้องหุ้มเมล็ดด้วยดิน พี่ป.6 บอกว่าดินจะช่วยเก็บกักความชื้นให้เมล็ดพันธุ์ พี่ป.1 ครูคะ/ครูครับ เราอยากไปเดินป่ากับพี่ค่ะ

    ตอบลบ