เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และตระหนักเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของตนเอง อีกทั้งสามารถคัดเลือกและเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไว้สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

7
19-23 ก.ย.59


โจทย์ : 
สร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
- อาหารเพื่อสุขภาพ
(น้ำข้าวกล้องงอก /คุกกี้ธัญพืช)
คำถาม
เราจะมีวิธีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดพันธุ์ได้อย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
- Blackboard  Share ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมล็ดพันธุ์
- Flow Chart  ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
-  Wall Thinking ภาพขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์
- Show and Share นำเสนอผลิตภัณฑ์น้ำข้าวกล้องงอก

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เมล็ดข้าวก่ำ(ข้าวเหนียวดำ)
น้ำ
- กล่องพลาสติกใส
- เครื่องปั่น
- แก้วสำหรับใส่น้ำข้าวกล้องงอก

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะมีวิธีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดพันธุ์ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำตามเมนูที่ได้ร่วมกันคิด
ชง
- ครูนำเมล็ดข้าวก่ำ(ข้าวเหนียวดำ) มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเมล็ดข้าวที่เห็นมีชื่อว่าอะไร สีอะไร มีกลิ่นเป็นอย่างไร นำไปทำอะไรได้บ้าง นักเรียนคิดว่าวันนี้เราจะทำอะไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้สังเกต
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำ “น้ำข้าวกล้องงอก”
1.นักเรียนช่วยกันล้างเมล็ดข้าวเหนียวดำ 2 รอบ
2.นักเรียนนำเมล็ดข้าวที่ล้างแล้วใส่ในกล่อง
พลาสติกใส เทน้ำลงไปให้ท่วมข้าว ปิดฝาทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง
3.ครบ 4 ชั่วโมง ให้ล้างเมล็ดข้าวด้วยน้ำสะอาดอีก 2 ครั้ง ใส่เมล็ดข้าวไว้ในกล่องพลาสติกใส่เหมือนเดิม แต่ไม่ต้องเติมน้ำ ทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง
4.ครบ 6 ชั่วโมง ล้างน้ำสะอาด 2 ครั้ง ทิ้งไว้อีก 16 ชั่วโมง (สังเกตเห็นเมล็ดข้าวมีตุ่มงอกขึ้นมา)
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำข้าวกล้องงอก (เครื่องปั่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำข้าวกล้องงอกมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำน้ำข้าวกล้องงอก
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนทำน้ำข้าวกล้องงอก

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำน้ำข้าวกล้องงอกไปให้กับคุณครูและพี่ๆ แต่ละชั้น ได้ชิม สิ่งที่ตนเองได้ทำ
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คุณครูและพี่ๆ ช่วยสะท้อนหลังจากชิมน้ำข้าวกล้องแล้ว
ใช้
นักเรียนเขียนแผนภาพขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์ (น้ำข้าวกล้องงอก)
ชง
ครูให้ภาระงานกับนักเรียนแต่ละคนได้ไปจัดเตรียมเมล็ดธัญพืชต่างๆ และอุปกรณ์ในการทำคุกกี้ธัญพืช ในวันต่อไป

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำสิ่งที่ตนเองได้เตรียมมา พร้อมบอกชื่อเมล็ดธัญพืช และการได้มา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำคุกกี้ธัญพืช
- นักเรียนอาสาของแต่ละกลุ่ม นำคุกกี้ที่ทำเรียบร้อยแล้วไปให้กับคุณครูและพี่ๆ แต่ละชั้นได้ลองชิม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ

ศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบและวางแผนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
- จัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมน้ำข้าวกล้องงอก
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- การจดบันทึกการเพาะเมล็ดพันธุ์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- แผนภาพขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
- น้ำข้าวกล้องงอก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพันธุ์
 และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- เลือกและคัดสรรวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ได้อย่างคุ้มค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูทำน้ำข้าวกล้องงอก รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน/เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม



















ตัวอย่างชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่พี่ป.1 ได้ร่วมกันคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ทำจากเมล็ดธัญพืชต่างๆ เมื่อช่วยกันคิดแล้วพี่ป.1 แบ่งกันรับผิดชอบสิ่งที่จะเตรียมมาทำอาหารในครั้งนี้ร่วมกัน ซึ่งทุกคนรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ทั้งครูและพี่ป.1 ร่วมกันแช่ข้าวเหนียวดำ เพื่อทำน้ำข้าวกล้องงอก พี่ป.1 สังเกตเห็นว่าข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแช่น้ำไว้ ทำไมถึงมีรากงอกได้ครับ/ค่ะ แล้วข้าวนี้จะสามารถนำไปหว่านให้เกิดเป็นต้นกล้าในนาข้าวหรือเหมือนที่เราเพาะเพื่อทำชาข้าวได้หรือเปล่า แต่พี่แก้ม : ครูคะที่เราเห็นขาวๆ มันเกิดจากจมูกข้าวค่ะ พี่เต้ : งั้นเราต้องปลูกได้เหมือนข้าวในนานะสิครับ จากนั้นพี่ป.1 ได้ร่วมกันทำอาหารเพื่อสุขภาพ และได้นำไปแบ่งปันให้กับคุณครูและพี่ๆ น้องๆ ร่วมชิมกันค่ะ พี่ป.1 ประทับใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ